อัมพวา (ผลไม้)
อัมพวา | |
---|---|
ใบต้นอัมพวา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
สกุล: | Cynometra Cynometra L. |
สปีชีส์: | Cynometra cauliflora |
ชื่อทวินาม | |
Cynometra cauliflora L. |
อัมพวา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cynometra cauliflora) เป็นไม้พุ่มในวงศ์ Leguminosae ภาคใต้เรียก นัมนัม เช่นเดียวกับภาษาอินโดนีเซียและภาษามัลดีฟส์ ชื่ออื่น ๆ คือ มะเปรียง, นางอาย (กรุงเทพมหานคร), บูรานัม (ภาคกลาง), และ หีหมา (ปัตตานี)[1]
ประวัติ
[แก้]อัมพวาเป็นผลไม้โบราณที่หายาก ซึ่งชื่ออัมพวามีที่มาคือมีคนนำพันธุ์ไม้ชนิดนี้มาจากภาคใต้แล้วมาปลูกไว้ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อชาวบ้านในละแวกนั้นได้เห็นต้นที่มีผลลักษณะแปลก ๆ และในละแวกใกล้เคียงนั้นไม่มีพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ทำให้ชาวอัมพวาต่างพากันเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่าต้นอัมพวา และยังมีความเชื่อว่าเป็นไม้ที่อยู่คู่กับอัมพวามาอย่างยาวนานกว่าร้อยปี ทำให้คนอัมพวานิยมปลูกไว้ประจำบ้านเพื่อทานผลและใช้ปลูกเป็นไม้ประดับบ้านสวยงาม [2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ใบเดี่ยว รูปไข่ ใบห้อยลง ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีขาวปนชมพู กลีบดอกสีขาว ผลอ่อนสีน้ำตาลแกมเขียว แก่แล้วเป็นสีเหลือง ผลมีรูปร่างแบนคล้ายมะม่วง มีร่องกลาง แต่ผลหยักเป็นลอนไม่เรียบ รสเปรี้ยวจัดคล้ายมะม่วงดิบ ภายในผลมีเมล็ดเดียว ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ เนื้อไม้จัดว่าเป็นไม้ที่ไม่มีราคา เหนียวมาก เลื่อยยาก มักไม่นำมาใช้ทำฟืน[1] อาจใช้ในงานก่อสร้างได้[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. อัมพวา ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 108 – 109
- ↑ 1.0 1.1 มติชนสุดสัปดาห์ (2022-04-02). "ชมวัดคูเต่า เล่าเรื่อง "ส้มคางคก" / สมุนไพรเพื่อสุขภาพ". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ อัมพวา พันธุ์ไม้ที่อยู่คู่กับอัมพวามานับร้อยปี สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Singapore National Parks Board เก็บถาวร 2014-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน